นโยบาย ดร.สมชอบ นิติพจน์


1.ส่งเสริมและสนับสนุนประเพณีไหลเรือไฟ ให้ยิ่งใหญ่สู่ระดับโลก
2.โครงการทำนา 1 ไร่ ได้ 1 แสน
3.โครงการถนนดีไม่มีหลุม
4.โครงการประกวดนักร้องลูกทุ่งสานฝัน เทิดไท้องค์ราชัน
5.โครงการร้อนนี้เพื่อลูกรัก อบรมเยาวชนลูกหลาน ชาวนครพนม
6.โครงการฟุตบอล อบจ.ลีกคัพ เป็นการยกระดับมาตรฐานกีฬาฟุตบอล จังหวัดนครพนม
7.โครงการห้องเรียนอัจฉริยะ นวัตกรรมทางการศึกษา
8.สนับสนุนและการส่งเสริมกิจกรรมของผู้พิการและด้อยโอกาสให้มีศักยภาพและโอกาสมากยิ่ง
9.รถ EMS รถฉุกเฉิน ส่งต่อผู้ป่วย ช่วยอุบัติเหตุ
10.สนับสนุนและส่งเสริมกีฬา อาทิ -สโมสรฟุตบอลนครพนมเอฟซี -การแข่งขันกอล์ฟไรเดอร์ กอล์ฟอินโดจีน -ชมรมแบดมินตัน -ชมรมจักรยาน –ชมรมวิ่ง -ชมรมมอเตอร์ไซต์วิบาก -ชมรมยิงปืน ฯลฯ
11.โครงการตั้งโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ชีวมวล เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
12.โครงการ ตั้งโรงเรียนกีฬา เพื่อส่งเสริมเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษด้านกีฬา นอกจากเน้นการฝึกซ้อมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศแล้ว เราจะสอนเสริม ด้านภาษา ด้านไอที และดนตรี เสริมให้นักเรียนที่อยู่ในความดูแล มีความรู้ความสามารถพิเศษติดตัวไปตลอด
13.นครพนมเมืองกีฬา
14.นครพนมศูนย์กลางการค้าอินโดจีน ตลาดสดอาหารทะเล

29 ธันวาคม 2554

11 พฤศจิกายน 2554


 นครพนม-สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 (นครพนม - คำม่วน) ขณะที่การเปิดใช้สะพานฯเริ่มตั้งแต่วันพรุ่งนี้(12 พ.ย.) 
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (11 พ.ย.) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม - คำม่วน) ร่วมกับ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิต รองประธานแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การนี้ช่วงเวลา 09.30 น. ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารที่ทำการด่านพรมแดน สะพานมิตรภาพ 3 ฝั่งไทย และชมนิทรรศการเชื่อมสัมพันธ์สองแผ่นดิน ณ อาคารด่านพรมแดน สะพานมิตรภาพ 3 ฝั่งไทย 
       
       ต่อมาใน เวลา 11.11 น. ทรงกดปุ่มแพรคลุมป้ายเปิดสะพานกลางสะพานแม่น้ำโขง โดยมีพระสงฆ์ไทย-ลาวเจริญชัยมงคลคาถาและในเวลา 11.25 น. ทรงเป็นประธานพิธีมอบอาคารด่านพรมแดน ฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ ด่านพรมแดน แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลรายงาน และมีนายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉันมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยหน่วยงานจากภาครัฐ เอกชน พ่อค้า ประชาชน และแขกผู้มีเกียรติ เฝ้ารอรับเสด็จและเข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก
       
       โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) เป็นโครงการที่ราชอาณาจักรไทย และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีนโยบายร่วมกันที่จะส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะเมืองคู่แฝด ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไทย-ลาว) ตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ในปัจจุบันมีสะพานข้ามแม่น้ำโขงในลักษณะเมืองคู่แฝดแล้ว 2 แห่ง
       
       แห่งแรก คือ สะพานมิตรภาพ (หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต) และสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-แขวงคำม่วน) ซึ่งจะเป็นเมืองคู่แฝดแห่งที่ 3 ต่อไป สำหรับสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) แห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงสายเอเชีย หรือ Asian Highway สาย AH 15 เชื่อมโยงระหว่างจังหวัดอุดรธานี สกลนคร นครพนม ท่าแขก หลักซาว ถึงเมืองวินท์ ประเทศเวียดนาม
       
       รัฐบาลไทยเป็นฝ่ายสนับสนุนงบประมาณและดำเนินการก่อสร้างสะพาน ถนน รวมทั้ง อาคารด่านพรมแดนของทั้งสองประเทศ ซึ่งกระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงรับผิดชอบในการก่อสร้าง วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 1,723 ล้านบาท และรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอำนวยความสะดวกในการจัดหาพื้นที่ รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีสำหรับเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีในการดูแล และบริหารโครงการก่อสร้างจนกระทั่งแล้วเสร็จสมบูรณ์
       
       สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน)เริ่มก่อสร้างหลัง 6 มี.ค. 52 โดยบริษัทอิตาเลียนไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่ฝั่งไทยที่บ้านห้อม ต.อาจสามารถ อ.เมือง และบ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สปป.ลาว ลักษณะโครงการประกอบด้วย งานสะพานข้ามแม่น้ำโขง ความยาวรวมทั้งสิ้น 1,423 เมตร ความกว้าง 13 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ มีถนนเชื่อมสะพานทั้งสองฝั่งเป็นผิวจราจรคอนกรีต มีจุดเปลี่ยนทิศทางการเดินรถ ตั้งอยู่ในฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และมีอาคารด่านควบคุมการผ่านแดนทั้งสองฝั่ง
       
       รูปแบบสะพานและอาคารมีการออกแบบให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับศิลปะในพื้นที่ สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) นี้ จะช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว ในการเดินทางและการคมนาคมขนส่ง ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ สังคม การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ตลอดจนเชื่อมโยงการค้า การลงทุนระหว่างประเทศไทย -สปป.ลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
       
       รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประชาชนในภูมิภาคนี้ให้มีความใกล้ชิดแน่นแฟ้นและเชื่อมคุณภาพชีวิต ที่ดีมาสู่ประชาชนทั้งสองประเทศมากยิ่งขึ้น
       
       ในส่วนของ อาคารด่านพรมแดน เปรียบเสมือนกระจกสะท้อนมรดกทางศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน และเป็นดั่งประตูเมือง ที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเข้าออกระหว่างสองประเทศ จึงก่อสร้างด้วยความพิถีพิถันด้วยสถาปัตยกรรมที่ควรค่า ควบคู่กับการวางระบบควบคุมที่ทันสมัย โดยอาคารทั้งสองฝั่งเป็นรูปสมมาตรกันทั้งซ้ายขวา ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยมีซุ้มประตูอยู่ตรงกลาง และหลังคาเป็นทรงจั่วซ้อนกัน มีช่องระบายอากาศร้อนใต้หลังคา ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของช่างบรรพบุรุษในอดีต ที่ต้องการให้เกิดภาวะน่าสบายของผู้อยู่อาศัย
       
       อาคารที่ทำการด่านสะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม-คำม่วน) ฝั่งไทย ก่อสร้างขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงานสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ใช้ในการตรวจการเข้า-ออกผ่านแดน ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสปป.ลาว ซึ่งหน้าจั่วแต่ละจุดของอาคารบอกเล่าเรื่องราวความเป็นอยู่ การทำมาหากิน ศาสนา และความเชื่อต่าง ๆ ของคนในท้องถิ่น และอัญเชิญสัญลักษณ์ของท้องถิ่น คือ องค์พระธาตุพนมมาประดิษฐานไว้ส่วนบนสุดของหลังคา อันมีจุดเริ่มแนวคิดมาจากพระอุโบสถแบบพื้นถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนิยมทำรูปทรงของยอดธาตุเป็นรูปบัวเหลี่ยม เพื่อสะท้อนเอกลักษณ์พื้นถิ่นซึ่งมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง
       
       วันนี้ (11 พ.ย.54) กรมทางหลวง กรมศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และจังหวัดนครพนม ได้ร่วมกันจัดแสดงนิทรรศการเชื่อมสัมพันธ์สองแผ่นดิน เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ รวมทั้งการเชื่อมโยงทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการเสริมศักยภาพของทั้งสองประเทศในอาเซียน ตลอดจนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ด้วย
       
       ส่วนของอาคารด่านพรมแดน ฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ออกแบบอาคารสะท้อนสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างเช่นเดียวกัน หน้าจั่วบอกเล่าถึงการนับถือศาสนาพุทธและวิถีชีวิต ส่วนยอดสุดของอาคาร ได้อัญเชิญสัญลักษณ์ยอดเจดีย์ พระธาตุสีโคดตะบอง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองท่าแขกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาประดิษฐาน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และเสริมสิริมงคลให้แก่ประชาชนของทั้งสองประเทศที่ใช้เส้นทางในการดำรงชีวิต
       
       อาคารด่านพรมแดน ฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถือเป็นหน่วยงานสำคัญในการอำนวยความสะดวก และช่วยเหลือประชาชนทั้งสองประเทศ ให้สามารถเดินทางระหว่างประเทศ รวมทั้งขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติของทั้ง 2 ประเทศ ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องวัฒนธรรม ประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ กฎหมายระหว่างประเทศ และเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างประชาชนและหน่วยงานของทั้งสองประเทศ ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางสังคม เศรษฐกิจในภูมิภาค สืบไป
       
       นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการจ.นครพนมเปิดเผยว่า หลังจากที่ผ่านพิธีเปิดสะพานอย่างเป็นทางการก็จะเปิดให้ประชาชนสัญจรผ่านสะพานข้ามโขงในวันพรุ่งนี้(12 พ.ย.)โดยอัตราค่าผ่านสะพานนั้นรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่งเงินไทย 50 บาท เงินลาว13,000 กีบ รถบรรทุก 4 ล้อเงินไทย 50 บาท เงินลาว 13,000 กีบ รถโดยสารขนาดเล็ก (เกิน 7 ที่นั่งแต่ไม่เกิน 12 ที่นั่ง)เงินไทย 100 บาท เงินลาว27,000 กีบ รถโดยสารขนาดกลาง (เกิน 12 แต่ไม่เกิน 24 ที่นั่ง)เงินไทย 150 บาท เงินลาว 40,000 กีบ
       
       รถโดยสารขนาดใหญ่ (เกิน 24 ที่นั่งขึ้นไป)เงินไทย 200 บาท เงินลาว 54,000 กีบรถบรรทุก 6 เงินไทย 250 บาท เงินลาว 67,000 กีบ รถบรรทุก 10 ล้อเงินไทย 350 บาท เงินลาว 94,000 รถบรรทุกเกิน 10 ล้อขึ้นไปเงินไทย 500 บาท เงินลาว 135,000 กีบ

24 ตุลาคม 2554

อบจ.นครพนม.......ขอขอบพระคุณ


เสี่ยติ๊ก....  พงษ์วณิช  ภูมะพานิช
บริจาคข้าวสารช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
 ผ่าน ดร.สมชอบ  นิติพจน์  นายก อบจ.นครพนม
มูลค่าเกือบ 200,000  บาท

13 ตุลาคม 2554



จังหวัดนครพนม จัดงานมหกรรมไหลเรือไฟและงานพาแลงจังหวัดนครพนม ประจำปี2554 ณ บริเวณลานตะวันเบิกฟ้า ในงานประเพณีออกพรรษาไหลเรือไฟและงานกาชาดจังหวัดนครพนมประจำปี2554 โดย นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดงาน และนายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ให้การต้อนรับและกล่าวรายงานการจัดงาน มีประชาชนนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมาเที่ยวชมเรือไฟจังหวัดนครพนมริมฝั่งแม่น้ำโขงอย่างเนืองแน่น การประกวดเรือไฟปีนี้มีเรือไฟส่งเข้าประกวดรวม15ลำ เป็นเรือไฟประเภทสวยงามจำนวน 6 ลำ และเรือไฟประเภทความคิดจำนวน 9 ลำ
ผลการประกวดเรือไฟประเภทสวยงาม
รางวัลชนะเลิศ                    ได้แก่ อ.โพนสวรรค์
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ1. ได้แก่ ม.นครพนม
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ2. ได้แก่ อ.ปลาปาก
ผลการประกวดเรือไฟประเภทความคิด
รางวัลชนะเลิศ                   ได้แก่ อบจ.นครพนม
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ1. ได้แก่ อ.นาแก
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ2. ได้แก่ อ.เมืองนครพนม

18 กันยายน 2554


คิดบวก ชีวิตบวก Positive Thinking, Positive Lifeบทความของท่านพระอาจารณ์ ว. วชิระเมธี เห็นว่าดีและมีประโยชน์จึงอยากนำมาแบ่งปันให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ

เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า  นี่คือโอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ
เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ
เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า  นี่คือแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต
เวลาเจอนายจอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการฝึกตนให้เป็นคนสมบูรณ์แบบ (perfectionist)

เวลาเจอคำตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ
เวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการสะท้อนว่าเรายังคงเป็นคนที่มีความหมาย
เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือวิธีที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต
เวลาเจอความป่วยไข้ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือการเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี

เวลาเจอความพลัดพราก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทเรียนของการรู้จักหยัดยืนด้วยขาตัวเอง
เวลาเจอลูกหัวดื้อ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือโอกาสทองของการพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง
เวลาเจอแฟนทิ้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความเป็นอนิจจังที่ทุกชีวิตมีโอกาสพานพบ
เวลาเจอคนที่ใช่แต่เขามีคู่แล้ว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือประจักษ์พยานว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างดั่งใจหวัง

เวลาเจอภาวะหลุดจากอำนาจ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือความเป็นอนัตตาของชีวิตและสรรพสิ่ง
เวลาเจอคนกลิ้งกะล่อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คืออุทาหรณ์ของชีวิตที่ไม่น่าเจริญรอยตาม
เวลาเจอคนเลว ให้บอกตัวเองว่า นี่คือตัวอย่างของชีวิตที่ไม่พึงประสงค์
เวลาเจออุบัติเหตุ ให้บอกตัวเองว่า นี่คือคำเตือนว่าจงอย่าประมาทซ้ำอีกเป็นอันขาด

เวลาเจอศัตรูคอยกลั่นแกล้ง ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบททดสอบที่ว่า "มารไม่มีบารมีไม่เกิด"
เวลาเจอวิกฤต ให้บอกตัวเองว่า นี่คือบทพิสูจน์สัจธรรม "ในวิกฤตย่อมมีโอกาส"
เวลาเจอความจน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือวิธีที่ธรรมชาติเปิดโอกาสให้เราได้ต่อสู้ชีวิต
เวลาเจอความตาย ให้บอกตัวเองว่า นี่คือฉากสุดท้ายที่จะทำให้ชีวิตมีความสมบูรณ์

15 พฤษภาคม 2554

แด่คุณแม่ทอง  นิติพจน์

เคยใกล้ชิดทุกวันมั่นใจหมาย
เป็นย่ายายลูกหลานนานนานหนอ
อนิจจาลาไกลไม่รั้งรอ
อยากจะพ้อโชคชะตาว่าทำไม

แม่คนดีที่หนึ่งซึ้งใจลูก
จะผิดถูกแม่ไม่ด่าว่าผลักไส
แม่ยินดีรับได้ทุกสิ่งไป
ขอเพียงให้ลูกนี้มีสุขพอ

แม่จากไปไกลตาชีพลาลับ
ขอแม่หลับอย่าอาลัยใจจดจ่อ
ต่อแต่นี้พักผ่อนอย่ารีรอ
เพื่อเกิดก่อกายใหม่ในที่ดี

คืนเศร้าเหงาบ้านเราไร้เงาแม่
ที่คอยแต่ปลอบใจในทุกที่
ขอวิญญานสงบภพใหม่มี
ให้เรานี้พานพบจนจบกาล


ด้วยความรักแม่

ดร.สมชอบ  นิติพจน์
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม

07 เมษายน 2554


อบจ.นครพนม เปิดโครงการพัฒนาเยาวชน ห่างไกลยาเสพติด เป็นปีที่ 2 โดยจะมีการจัดกิจกรรม การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทยในชื่อโครงการ อบจ.นครพนมสานฝัน เทิดไท้องค์ราชัน การแข่งขันชกมวย ดาวรุ่งมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ต้านภัยยาเสพติด และการแข่งขันฟุตบอล อบจ.นครพนม ลีกคัพ ต้านภัยยาเสพติด ซึ่งปีนี้ ทุ่มเงินรางวัลมูลค่านับล้านบาท รวมทั้งโครงการฝึกอบรมค่ายเยาวชน "ค่ายร้อนนี้เพื่อลูกรัก ต้าน ภัยยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2554 ซึ่งถือเป็นในโครงการสำคัญตามนโยบายการด้านการพัฒนาของ อบจ.นครพนม ที่ต้องการพัฒนาส่งเสริมเยาวชนด้านการกีฬา ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ต่อต้านยาเสพติด ซึ่งได้จัดสรรงบประมาณดำเนินการประมาณ หลายล้านบาท

อบจ.นครพนม เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรมนุษย์ ทรัพย์กรมนุษย์ถือเป็นทรัพย์กรที่มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ฉะนั้น การพัฒนาเด็กและเยาวชนจึงต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คณะผู้บริหารจึงสร้างกิจกรรมให้กับเยาวชนใช้เวลาให้เป็นประโยชน์เพื่อที่จะไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่ง จ.นครพนม เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของยาเสพติดมากเนื่องจากเป็นพื้นที่ติดแนวชายแดน โดยในปีงบประมาณ 2554  อบจ.ได้เตรียมเปิดโครงการพัฒนาเยาวชน ห่างไกลยาเสพติด ประกอบด้วยกิจกรรมถึง 4 กิจกรรม ให้เยาวชนได้ร่วมตลอดทั้งปี ประกอบด้วย การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทยในชื่อโครงการ อบจ.นครพนมสานฝัน เทิดไท้องค์ราชัน การแข่งขันชกมวย ดาวรุ่งมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ด้านภัยยาเสพติด และการแข่งขันฟุตบอล อบจ.นครพนม ลีกคัพ ด้านภัยยาเสพติด

โครงการมวยรอบ อบจ. นั้น สภา อบจ.นครพนมได้อนุมัติงบประมาณจำนวนหลายแสนบาท ในโครงการแข่งขันชกมวยรอบ”ศึกดาวรุ่งมุ่งสู่ความเป็นเลิศต้านภัยยาเสพติด”ชิงเงินรางวัลพร้อมถ้วยเกียรติยศ   เป็นปีที่ 2
     
สำหรับเป้าหมายในการจัดการแข่งขันชกมวยครั้งนี้นั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมนักกีฬาชกมวยในจังหวัดสู่ความเป็นเลิศเนื่องจากในพื้นที่จังหวัดนครพนมจะมีนักกีฬาชกมวยมากแต่ขาดเวทีแข่งขันและที่สำคัญคือปัญหายาเสพติดตามหมู่บ้านชุมชนที่แพร่ระบาดซึ่งเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง
       
ซึ่งทาง อบจ.นครพนม มองว่าโครงการจัดกีฬาหลายรูปแบบในชุมชนแต่ละอำเภอเพื่อดึงให้ประชาชนเยาวชนนักเรียนนักศึกษาได้แสดงออกถึงการเล่นกีฬาพร้อมสร้างกิจกรรมแสดงความสามัคคีคนในชุมชนเกิดขึ้น

นอกจากนี้อบจ.นครพนม ยังได้จัดประกวดโครงการร้องเพลงลูกทุ่งไทย ห่างไกลยาเสพติด อบจ.นครพนมสานฝัน เทิดไท้องค์ราชัน ประจำปี 2554 โครงการ2 เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด และเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ให้คงอยู่สืบไป แบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทรุ่นเล็ก อายุ 15 – 19ปี และ รุ่นใหญ่ อายุ20 ปีขึ้นไป ซึ่งทั้งประเภทรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่ จะได้รับรางวัลถ้วยเกียรติยศ ได้สิทธิบันทึกเสียง 1 เพลง พร้องเงินรางวัล 10,000บาท 7,000บาท 5,000บาท และ 3,000บาท ตามลำดับ โดย กำหนดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ – วันที่ 3 มีนาคม 2554 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม โทร.042-512955 ต่อ 21 หรือ 042-516-295 หรือ 08-6854-3629 /.ซึ่งผลการแข่งขันจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไป

และล่าสุด องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ร่วมกับ มูลนิธิโรงเรียนน่าอยู่ เรียนรู้อย่างมีความสุข จังหวัดนครพนม พ.ศ.2552  จัดทำโครงการฝึกอบรมค่ายเยาวชน "ค่ายร้อนนี้เพื่อลูกรัก ต้าน ภัยยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2554" ในระหว่างวันที่ 1 – 7 เมษายน 2554 นี้ รวม 7 วัน 6 คืน ณ โรงเรียนเทคโนโลยีนครพนม อ.เมืองนครพนม โดยอบรมให้กับเยาวชนในพื้นที่ จังหวัดนครพนม และใกล้เคียง จำนวน100 คน ด้วยกิจกรรม ร้อง เล่น เต้น รำ เขียน และ การแสดง เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน ใช้เวลาว่างช่วงปิดภาคเรียน ให้เกิดประโยชน์ และเพิ่มพูน ความรู้ สร้างเสริมประสบการณ์ ด้านการขับร้องเพลงที่ถูกต้อง การเล่นดนตรี การเต้นรำ การเขียนเพลง การฝึกแสดง และ การพัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสม เป็นการส่งเสริมให้ เยาวชน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลยาเสพติด จะได้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของ ประเทศชาติ ต่อไป.

27 กุมภาพันธ์ 2554

วิทยาลัยการบินนานาชาติ  มหาวิทยาลันนครพนม
วิทยาลัยการบินของรัฐ 100%


ดร.สมชอบ  นิติพจน์  นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม  เข้าเรียนหลักสูตรการขับเครื่องบิน ที่วิทยาลัยการบินนานาชาติ ซึ่งเป็นหลักสูตรพิเศษ ปัจจุบันมีนักศึกษาที่มาเรีัยน 2 คน อีก 1 คนคือ นายแพทย์นิสัย  ตงศิริ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลนิสัย จังหวัดสกลนคร เป็นเพื่อนร่วมรุ่น ที่มีอาจารย์ ทั้งอาจารย์ชาวไทย และอาจารย์ชาวต่างประเทศ เป็นผู้ฝึกสอน






หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล  เครื่องบิน  Private Pilot Licence (PPL) – Aeroplane


1. จุดมุ่งหมาย หลักสูตรนักบินสวนบุคคล –  เครื่องบิน เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อใหผูที่รักการบิน ใฝ่ฝันที่จะเป็นนักบินไดมีโอกาสฝึกศึกษาตามมาตรฐานขององคการการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) และไดรับอนุมัติจากกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม

2. หลักสูตร ประกอบด้วย
   2.1. ภาคทฤษฎีจํานวน 105 ชั่วโมง
   2.2. ภาคปฏิบัติจํานวน 50 ชั่วโมง ประกอบด้วย
      2.2.1. ฝึกบินภาคอากาศ 45 ชั่วโมง
      2.2.2. ฝึกบินเครื่องฝึกบินจําลอง 5 ชั่วโมง
3. ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 385,000 บาท ราคานี้ไม่รวมค่าที่พักค่าอาหารและค่าสอบภาคทฤษฎีและภาคอากาศจากกรมการบินพลเรือน
4. สถานที่ฝึกอบรม วิทยาลัยการบินนานาชาติสนามบินนครพนม
5. ประกาศนียบัตร เมื่อจบหลักสูตร
5.1. จะได้รับประกาศนียบัตรนักบินส่วนบุคคล –  เครื่องบิน จากวิทยาลัยการบินนานาชาติมหาวิทยาลัยนครพนม
5.2. มีคุณสมบัติสมัครสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล  เครื่องบิน (Private Pilot Licence: PPL) จากกรมการบินพลเรือน
6. สิทธิทําการ ผู้ถือใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล สามารถทําการบินกับเครื่องบินประเภทที่ได้รับอนุญาตอันมิใชเพื่อบําเหน็จเป็นการค้า  

และ ดร.สมชอบ นิติพจน์ ได้ทดลองบินแล้ว  2  ครั้ง ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเรียนขับเครื่องบิน ในราคาที่ถูกมาก

25 มกราคม 2554

นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ.2554-2556 ว่า ในเรื่องของการจัดหาพันธุ์ยาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างเงื่อนไขข้อตกลงการจ้าง (TOR) โดยในเบื้องต้นได้วางแนวทางเป็นหลักการ คือ จะจัดให้มีการประกวดราคาจัดซื้อรวม 3 ปี ในราคาต้นละ 18 บาท แบ่งการจัดซื้อเป็น 4 พื้นที่ คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ซึ่งจะให้มีการประกวดราคาในแต่ละเขตพื้นที่ ไม่มีการข้ามโซน เนื่องจากยังคงพื้นฐานที่ว่าพันธุ์ยางควรอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูก


ทั้งนี้ การประกวดราคาจะเปิดโอกาสให้ทุกรายที่ผ่านคุณสมบัติตามที่ TOR กำหนด ไม่มีการปิดกั้นหรือชี้เฉพาะรายใดรายหนึ่งแต่อย่างใด ส่วนที่หลายฝ่ายมีความกังวลว่าอาจเกิดข้อปัญหาอุปสรรคคล้ายกับกรณียางล้านไร่นั้น ในครั้งนี้จะต้องมีการกำหนด TOR ให้มีความรัดกุม ชัดเจน เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรมากที่สุด ซึ่งได้กำชับทาง สกย.ในประเด็นดังกล่าวไปแล้ว ส่วนความคืบหน้าและรายละเอียดต่างๆ จะมีการประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการต่อไปภายหลังจากที่ TOR แล้วเสร็จสมบูรณ์

โครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ.2554-2556 เป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 และวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ที่เห็นชอบในโครงการดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มาตรา 21 ทวิ ส่งเสริมการปลูกยางพันธุ์ดีในเขตพื้นที่เหมาะสม รวมทั้งสิ้น 800,000 ไร่ แบ่งออกเป็น ภาคเหนือ 150,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 500,000 ไร่ ภาคกลางและภาคตะวันออก 100,000 ไร่ และภาคใต้ 50,000 ไร่
สำหรับเงินงบประมาณแบ่งออกเป็น ปี 2554 จำนวน 580 ล้านบาท พื้นที่ 200,000 ไร่ ปี 2555 จำนวน 979 ล้านบาท พื้นที่ 300,000 ไร่ และปี 2556 จำนวน 1,179 ล้านบาท พื้นที่ 300,000 ไร่ จากนั้นจะเป็นการส่งเสริมต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ.2557-2562 คาดว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการประมาณ 160,000 ราย มีรายได้คิดเป็นมูลค่า 224,000 บาทต่อรายต่อปี รวมถึงเกิดการสร้างงานในท้องถิ่น มีแรงงานภาคเกษตรไม่น้อยกว่า 100,000 คน ช่วยลดการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานภาคการเกษตร และผลผลิตยางธรรมชาติของประเทศเพิ่มขึ้น นับจากปี พ.ศ.2562 เป็นต้นไป ส่วนภาครัฐเองก็จะมีรายได้จากการเก็บเงินจากผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาจักร หรือเงิน Cess เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 1,112 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับเป็น

อนึ่ง และเมื่อวันที่ 18-22 มกราคม 2554 นี้ ดร.สมชอบ  นิติพจน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ได้มีโอกาสร่วมกับคณะกรรมาธิการยาง ซึ่ง รมช.ศุภชัย โพธิ์สุ เป็นหัวหน้าคณะ ไปดูงานตลาดยางพาราที่ประเทศจีน ซึ่งรายละเอียดจะได้นำเสนอต่อไป


ซึ่งในปีนี้ คณะนักธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมยางพาราจาก มณฑลเฉินตู เมืองกวางเจา เมืองชิงเต่า ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เดินทางมาศึกษาดูงานถึงความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการปลูกยางพารานำพื้นที่ภาคอีสาณ จ.ยโสธร ซึ่งปัจจุบัน จ.ยโสธร มีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 6 หมื่นไร่ แต่สามารถกรีดยางได้แล้วประมาณเกือบ 2 หมื่นไร่ 

นายฉอง เวนกวาง ประธานบริษัท ชิงหยวนกรุ๊ป กล่าว่า ทางโรงงานอุสาหกรรมผู้ผลิตยางรถยนต์ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ยังต้องการยางจากประเทศไทยอีกจำนวนมาก และแต่ละปียังต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะยางพาราจากภาคอีสานเพราะคุณภาพดีเยี่ยม และมีความพร้อม ที่จะสนับสนุนการปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น

เนื่องจากว่า ทางรัฐบาลได้มีนโยบายในเรื่องการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพารา โดยเฉพาะในปีนี้มีนโยบายปลูกยางพารา เพิ่ม 8 แสนไร่ นักธุรกิจชาวจีนได้เร่งเห็นศักยภาพของไทยที่จะผลิตยางที่มีคุณภาพดี ส่งให้ได้ จึงได้เข้ามาส่งเสริมฐานการผลิตที่ประเทศไทย โดยการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา เพื่อรองรับโรงงานผลิตยางรถยนต์จากประเทศจีนซึ่งมีแนวโน้มว่าจะย้ายฐานผลิตมาตั้งโรงงานผลิตที่ประเทศไทย 

ขณะที่นายพิกิฏ ศรีชนะ สส.ยโสธร หนึ่งในคณะกรรมาธิการในฐานะผู้ดูแลเรื่องยางพารา กล่าวว่า ในปีนี้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นอีก 8 แสนไร่ โดยเฉพาะปีนี้ภาคอีสานจะดำเนินการปลูกยางพาราเพิ่มอีก 2 แสนไร่ ตนจึงได้นำเรื่องนี้เข้าหาลื่อกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะให้ จ.ยโสธร เป็นจังหวัดนำร่องในการเริ่มโครงการ ส่งเสริมปลูกยางพาราแบบครบวงจร เช่น ส่งเสริมขยายการปลูก การแปรรูป การผลิต การตลาด เพื่อที่จะนำยางพาราส่งออกโดยตรงให้กับทางบริษัทของประเทศจีน

16 มกราคม 2554



คำว่าครูสูงล้ำเกินคำอ้าง

ช่วยชี้ทางแนะนำกล่าวคำสอน
เปรียบเรือจ้างนั้นพาส่งไม่ตัดรอน
ช่วยสะท้อนภาพจริงใช่สิ่งลวง

หวังเพียงให้ศิษย์นั้นกตัญญู
พระคุณครูฝังแน่นท่านแหนหวง
อยากให้ศิษย์เฉกเช่นจันทร์เด่นดวง
ให้ลุล่วงการศึกษาก้าวหน้าไกล

พระคุณครูรู้แน่เปรียบแม่พ่อ
ช่วยสานก่อจนแกร่งมีแรงไหว
สอนก้าวเดินเหินฟ้ารุดหน้าไป
ถึงหลักชัยการศึกษามีค่างาม


ขอคารวะคุณครูด้วยความเคารพ
ดร.สมชอบ นิติพจน์
นายก อบจ.นครพนม

(คำกลอนจาก อินเตอร์เน็ต)