นโยบาย ดร.สมชอบ นิติพจน์


1.ส่งเสริมและสนับสนุนประเพณีไหลเรือไฟ ให้ยิ่งใหญ่สู่ระดับโลก
2.โครงการทำนา 1 ไร่ ได้ 1 แสน
3.โครงการถนนดีไม่มีหลุม
4.โครงการประกวดนักร้องลูกทุ่งสานฝัน เทิดไท้องค์ราชัน
5.โครงการร้อนนี้เพื่อลูกรัก อบรมเยาวชนลูกหลาน ชาวนครพนม
6.โครงการฟุตบอล อบจ.ลีกคัพ เป็นการยกระดับมาตรฐานกีฬาฟุตบอล จังหวัดนครพนม
7.โครงการห้องเรียนอัจฉริยะ นวัตกรรมทางการศึกษา
8.สนับสนุนและการส่งเสริมกิจกรรมของผู้พิการและด้อยโอกาสให้มีศักยภาพและโอกาสมากยิ่ง
9.รถ EMS รถฉุกเฉิน ส่งต่อผู้ป่วย ช่วยอุบัติเหตุ
10.สนับสนุนและส่งเสริมกีฬา อาทิ -สโมสรฟุตบอลนครพนมเอฟซี -การแข่งขันกอล์ฟไรเดอร์ กอล์ฟอินโดจีน -ชมรมแบดมินตัน -ชมรมจักรยาน –ชมรมวิ่ง -ชมรมมอเตอร์ไซต์วิบาก -ชมรมยิงปืน ฯลฯ
11.โครงการตั้งโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ชีวมวล เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
12.โครงการ ตั้งโรงเรียนกีฬา เพื่อส่งเสริมเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษด้านกีฬา นอกจากเน้นการฝึกซ้อมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศแล้ว เราจะสอนเสริม ด้านภาษา ด้านไอที และดนตรี เสริมให้นักเรียนที่อยู่ในความดูแล มีความรู้ความสามารถพิเศษติดตัวไปตลอด
13.นครพนมเมืองกีฬา
14.นครพนมศูนย์กลางการค้าอินโดจีน ตลาดสดอาหารทะเล

25 มกราคม 2554

นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ.2554-2556 ว่า ในเรื่องของการจัดหาพันธุ์ยาง ขณะนี้อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างเงื่อนไขข้อตกลงการจ้าง (TOR) โดยในเบื้องต้นได้วางแนวทางเป็นหลักการ คือ จะจัดให้มีการประกวดราคาจัดซื้อรวม 3 ปี ในราคาต้นละ 18 บาท แบ่งการจัดซื้อเป็น 4 พื้นที่ คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ซึ่งจะให้มีการประกวดราคาในแต่ละเขตพื้นที่ ไม่มีการข้ามโซน เนื่องจากยังคงพื้นฐานที่ว่าพันธุ์ยางควรอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูก


ทั้งนี้ การประกวดราคาจะเปิดโอกาสให้ทุกรายที่ผ่านคุณสมบัติตามที่ TOR กำหนด ไม่มีการปิดกั้นหรือชี้เฉพาะรายใดรายหนึ่งแต่อย่างใด ส่วนที่หลายฝ่ายมีความกังวลว่าอาจเกิดข้อปัญหาอุปสรรคคล้ายกับกรณียางล้านไร่นั้น ในครั้งนี้จะต้องมีการกำหนด TOR ให้มีความรัดกุม ชัดเจน เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรมากที่สุด ซึ่งได้กำชับทาง สกย.ในประเด็นดังกล่าวไปแล้ว ส่วนความคืบหน้าและรายละเอียดต่างๆ จะมีการประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการต่อไปภายหลังจากที่ TOR แล้วเสร็จสมบูรณ์

โครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ.2554-2556 เป็นการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 และวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ที่เห็นชอบในโครงการดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มาตรา 21 ทวิ ส่งเสริมการปลูกยางพันธุ์ดีในเขตพื้นที่เหมาะสม รวมทั้งสิ้น 800,000 ไร่ แบ่งออกเป็น ภาคเหนือ 150,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 500,000 ไร่ ภาคกลางและภาคตะวันออก 100,000 ไร่ และภาคใต้ 50,000 ไร่
สำหรับเงินงบประมาณแบ่งออกเป็น ปี 2554 จำนวน 580 ล้านบาท พื้นที่ 200,000 ไร่ ปี 2555 จำนวน 979 ล้านบาท พื้นที่ 300,000 ไร่ และปี 2556 จำนวน 1,179 ล้านบาท พื้นที่ 300,000 ไร่ จากนั้นจะเป็นการส่งเสริมต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ.2557-2562 คาดว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการประมาณ 160,000 ราย มีรายได้คิดเป็นมูลค่า 224,000 บาทต่อรายต่อปี รวมถึงเกิดการสร้างงานในท้องถิ่น มีแรงงานภาคเกษตรไม่น้อยกว่า 100,000 คน ช่วยลดการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานภาคการเกษตร และผลผลิตยางธรรมชาติของประเทศเพิ่มขึ้น นับจากปี พ.ศ.2562 เป็นต้นไป ส่วนภาครัฐเองก็จะมีรายได้จากการเก็บเงินจากผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาจักร หรือเงิน Cess เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 1,112 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับเป็น

อนึ่ง และเมื่อวันที่ 18-22 มกราคม 2554 นี้ ดร.สมชอบ  นิติพจน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม ได้มีโอกาสร่วมกับคณะกรรมาธิการยาง ซึ่ง รมช.ศุภชัย โพธิ์สุ เป็นหัวหน้าคณะ ไปดูงานตลาดยางพาราที่ประเทศจีน ซึ่งรายละเอียดจะได้นำเสนอต่อไป


ซึ่งในปีนี้ คณะนักธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมยางพาราจาก มณฑลเฉินตู เมืองกวางเจา เมืองชิงเต่า ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เดินทางมาศึกษาดูงานถึงความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการปลูกยางพารานำพื้นที่ภาคอีสาณ จ.ยโสธร ซึ่งปัจจุบัน จ.ยโสธร มีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 6 หมื่นไร่ แต่สามารถกรีดยางได้แล้วประมาณเกือบ 2 หมื่นไร่ 

นายฉอง เวนกวาง ประธานบริษัท ชิงหยวนกรุ๊ป กล่าว่า ทางโรงงานอุสาหกรรมผู้ผลิตยางรถยนต์ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ยังต้องการยางจากประเทศไทยอีกจำนวนมาก และแต่ละปียังต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะยางพาราจากภาคอีสานเพราะคุณภาพดีเยี่ยม และมีความพร้อม ที่จะสนับสนุนการปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น

เนื่องจากว่า ทางรัฐบาลได้มีนโยบายในเรื่องการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพารา โดยเฉพาะในปีนี้มีนโยบายปลูกยางพารา เพิ่ม 8 แสนไร่ นักธุรกิจชาวจีนได้เร่งเห็นศักยภาพของไทยที่จะผลิตยางที่มีคุณภาพดี ส่งให้ได้ จึงได้เข้ามาส่งเสริมฐานการผลิตที่ประเทศไทย โดยการขยายพื้นที่ปลูกยางพารา เพื่อรองรับโรงงานผลิตยางรถยนต์จากประเทศจีนซึ่งมีแนวโน้มว่าจะย้ายฐานผลิตมาตั้งโรงงานผลิตที่ประเทศไทย 

ขณะที่นายพิกิฏ ศรีชนะ สส.ยโสธร หนึ่งในคณะกรรมาธิการในฐานะผู้ดูแลเรื่องยางพารา กล่าวว่า ในปีนี้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นอีก 8 แสนไร่ โดยเฉพาะปีนี้ภาคอีสานจะดำเนินการปลูกยางพาราเพิ่มอีก 2 แสนไร่ ตนจึงได้นำเรื่องนี้เข้าหาลื่อกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะให้ จ.ยโสธร เป็นจังหวัดนำร่องในการเริ่มโครงการ ส่งเสริมปลูกยางพาราแบบครบวงจร เช่น ส่งเสริมขยายการปลูก การแปรรูป การผลิต การตลาด เพื่อที่จะนำยางพาราส่งออกโดยตรงให้กับทางบริษัทของประเทศจีน